สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตามตอนแรกของเรื่องนี้ไป
คือ เรื่องของการทำความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆที่จะส่งเสริมให้เราใช้ความคิดได้ดีขึ้น
ในตอนนี้ มาถึงวิธีการคิดต่างๆ ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลว่าถนัดใช้วิธีการคิดแบบใด
ท่านผู้อ่านทั้งหลายอาจใช้วิธีการเหล่านี้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
(สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรก http://in2dept.blogspot.com/2013/06/1.html )
- - การคิดแบบผสมผสาน
คือ
การนำสิ่งของที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว
ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันมาผสมรวมกันเป็นสิ่งใหม่
- - การคิดโดยใช้หลักการเหตุและผล
คิดอย่างเป็นระบบ ใช้การวิเคราะห์ พยายามแยกแยะทางเลือกออกมาเป็นข้อๆ
โดยคาดหวังในการลดความเสี่ยงให้มากที่สุด
- - การคิดอย่างไม่เป็นระบบ
ไม่ได้ใช้หลักของเหตุผล
เมื่อเราเข้าใจปัญหาแล้วเราจึงคิดไปเรื่อยๆ โดยมีเป็นปัญหาเป็นตัวนำทางเรา
ซึ่งเราอาจคิดทางออกทั้งหมดออกมา เปรียบเหมือนทำกับข้าวแบบเชฟหมี
ที่หยิบจากสิ่งที่มีทั้งหมด แล้วลองมาผสมผสานเป็นสิ่งใหม่
- - การทำสมาธิช่วยให้คิด
บางครั้งการปล่อยให้การรับรู้ของเรา
มีผลต่อสภาวะของจิตหรือสมาธิ จะทำให้เราไม่สงบเพราะความเป็นจริงของการรับรู้ ทั้ง 5 จริงๆ อยากบอกว่ามี 6 อย่าง คือ การรับรู้ของใจ
เพราะแม้เราไม่รับรู้ต่อสิ่งเร้าใด ผ่านสัมผัสทั้ง 5 บางทีเราก็รู้สึก
สุขหรือทุกข์ได้ อันเนื่องมาจากความจำในอดีตหรือจิตปรุงแต่ง
ทำให้เกิดการรับรู้ทางจิตไปสู่จิต เหมือนกับคนที่ไม่เคยนั่งสมาธิ
พอนั่งแล้วจะไม่สงบ คิดนั่นนี่ตลอดเวลา
สัมผัสทั้งหมดของเรามันจะรับรู้ต่อสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น
หากเราไม่ชอบเสียงรถที่วิ่งดังๆ เราจะไม่สามารถปิดระบบการรับรู้ได้
แต่ถ้าเราสะกดให้จิตเรานิ่งโดยการทำสมาธิ เพื่อไม่ให้สนใจสิ่งรอบตัวที่รับผ่านสัมผัสทั้งหมด จะทำให้นิ่งสงบ เมื่อเราสงบเราก็อาศัยความสงบนั้นเพื่อคิดไตร่ตรองปัญหา หรือ
คิดตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ จะทำให้เรามีพลังในการจดจ่ออยู่ที่เรื่องๆเดียวได้
ซึ่งแล้วแต่บุคคลว่าจะทำสมาธิแบบไหน นอน นั่ง ยืน หรือ เดิน แต่วิธีการแบบนี้อาจจะไม่ตรงเป้าหมายในทางพุทธศาสนา
เพราะจริงๆ แล้วเค้าต้องการให้เรา ใช้ช่วงที่เราสงบพิจารณาทางโลก
หรือเพื่อให้เบื่อหน่ายทางโลก เพื่อพิจารณาสัจธรรมความจริง
- - คิดโดยใช้หลักไดอะแกรม
จะคล้ายกับความคิดอย่างไม่เป็นระบบแต่มีรูปแบบอยู่บ้าง
เป็น การปล่อยให้เราไม่ติดอยู่กรอบของความเป็นไปได้
มองว่าทุกอย่างเป็นไปได้แล้วลองคิดออกมา ปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือแนวคิดไปหลายๆมุมมอง
โดยมี 3 ลักษณะดังนี้
1.การ บวกเพิ่มจากพื้นฐานเดิม
อาจเป็นความคิดที่ธรรมดาที่สุดแต่ถ้าบวกความคิดที่ดูธรรมดา 3
อันเข้าไปอาจกลายเป็นสิ่งใหม่ที่ดูดีขึ้นมาก็ได้
2.การแยกออก
จากพื้นฐานความคิดเดิมที่เรามี หรือความคิดใหม่ ถ้าคิดออกมาได้ให้ทำการแยกบางส่วนออกแล้วดูหน้าตาของมันใหม่อีกครั้ง
3. การสลับข้างของความคิด
หากเรามีเรื่องราวของความคิด เช่น ลำดับของการเล่าเรื่องนิยายเราเรียงออกมาเป็น 123 เราอาจเรียบเรียงใหม่เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจขึ้นเป็น 312 ก็ได้ หรืออื่นๆ
โดยการสลับไปมา
- คิดในเชิงเปรียบเทียบ
ซึ่งอาจมาจากพบปะพูดคุยกับผู้คน
การหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ จากสิ่งบันเทิง จากชีวิตประจำวัน จากประสบการณ์
ฯลฯ แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อประยุกต์ใช้กับเรื่องที่เราคิด
โดยดูปัจจัยที่มีความเหมือนคล้ายของสิ่งที่เราเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราคิด
หากมีความเหมือนกันอาจสามารถนำมาปรับใช้ได้
ในเรื่องของการคิดไม่ว่าจะคิดด้วยวัตถุประสงค์ใด เราจะเผชิญอยู่ภายใต้ข้อจำกัด
ไม่สามารถที่จะหาความแน่นอนออกมาได้
ว่าสิ่งที่เราคิดสามารถแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ได้
เราอาจทำให้ดูเหมือนว่าเราเข้าใกล้ความแน่นอนแต่มันก็ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องใช้หลักที่เคยกล่าวมาผสมผสาน
คือ เรื่องของการตัดสินใจและมุมมองในระยะยาว (ติดตามได้ในบทความเรื่อง
“เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจ”)
ในการคิดทำอะไร เราควรจะต้องมีความคล่องตัว
ในการเปลี่ยนแปลงความคิด หากเราทำอะไรบางอย่าง เมื่อเรารับรู้ได้ถึงความไม่สอดรับ
ไม่ว่าจะรับรู้จากผลลัพธ์ที่ออกมาหรือจากการความคาดการณ์ เราต้องมีความคล่องตัวไว้เสมอ
มีพื้นที่ให้เราสามารถขยับตัวได้ อย่าทำให้ตัวเองถูกล็อคอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง หรือติดกับขอบเขตสถานการณ์บางอย่าง
เพราะเมื่อเราล็อคตัวเราเอง เราก็ไม่อาจใช้ความคิดที่มีมาแก้ไขสิ่งใดได้
บางทีเราก็ต้องขยับขอบเขตด้วยตัวเอง หากเรารอให้ขอบเขตเป็นตัวขับเคลื่อนทั้งหมด
เราจะกลายเป็นผู้ที่คิดข้ามเกมไม่ได้ สังเกตหลายๆ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
มาจากคิดข้ามเกมทั้งนั้น ต้องทำให้หนังสือหรือทฤษฎีวิ่งตามการกระทำบ้าง
อย่าคอยแต่ให้การกระทำวิ่งตามทฤษฏีเท่านั้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจของทางตะวันตกที่ประสบความสำเร็จ
เกิดขึ้นก่อนจะมีทฤษฏี เช่น The Long tail ซึ่งผู้เขียนเค้าได้ยกตัวอย่างของแนวคิดจากจากธุรกิจออนไลน์
เช่น Amazon หรือ iTunes โดยสรุปของแนวคิดนี้ คือ หมดสมัยของการขายสินค้ายอดฮิตที่ได้รับความนิยมเพียงอย่างเดียวที่อยู่ภายใต้ของทรัพยากรที่มีจำกัด
ในโลกอินเตอร์เน็ตเราสามารถขายของทุกชิ้นได้ แม้ขายได้เพียงชิ้นเดียว
แต่ถ้ามีสินค้าอยู่ล้านชิ้นรวมกันจะกลายเป็นขนาดของตลาดใหญ่สามารถสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้
ผู้บริโภคจะมีสิทธิเลือกสินค้าได้อย่างไม่ถูกจำกัดเหมือนอดีตที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างที่ยกให้เห็นจะมาจากการเริ่มต้นของธุรกิจก่อน
ก่อนที่จะมีทฤษฏีขึ้นเขียนเป็นหนังสือ
อ้างอิง
Satory
Itabashi 2554, Picto แกะรอยโมเดลธุรกิจต่อยอดกำไรไม่รู้จบ, กรุงเทพฯ: ส.ส.ท.
สรรค์ชัย
เตียวประเสริฐกุล 2553,
Inner Motivation และ
Creativity เกี่ยวกันอย่างไร เรื่องที่คุณต้องรู้!
(ตอนที่ 2).สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2556, จาก
http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=7&ArticleID=5557&ModuleID=701&GroupID=1336
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น