ความสำเร็จของเป้าหมายหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายใด หากกล่าวถึงเป้าหมายคงไม่มีใครที่คิดหรือลงมือกระทำสิ่งใดแล้วอยากให้มันไม่สำเร็จหรือคาดเคลื่อนไหลออกนอกเส้นทางไป
เมื่อเราตั้งเป้าหมายไม่ว่าจะคิดวิธีการใดออกมา
ไม่ว่าแผนการนั้นจะมีความซับซ้อนมากหรือน้อย จะต้องใช้เวลายาวนานหรือเพียงน้อยนิด เราสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกหนึ่งก่อนที่จะลงมือกระทำ
ขณะที่อยู่ในความคิด รับรู้ได้ถึงความรู้สึก ความรู้สึกนี้จะมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ลงมือกระทำตามแผนการที่วางไว้
แม้จะมีปัญหาอุปสรรค ซึ่งทำให้ได้รับความรู้สึกที่ตรงข้าม เราก็มุ่งมั่นที่จะลงมือกระทำตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
และเมื่อถึงปลายทางแห่งความสำเร็จ เราคาดว่าจะได้รับความรู้สึกนั้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณที่รับได้ตั้งแต่เริ่มตั้งเป้าหมาย
เราทุกคนมีความเข้าใจเหมือนกันในความรู้สึกนี้ โดยเรียกเหมารวมความรู้สึกที่ว่า.......................................... “ความสุข”
เราจะมาพูดถึงวิธีการหนึ่งของการทำเป้าหมายให้ประสบการณ์สำเร็จ
เนื่องจากความสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบที่หลากหลาย
ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มต้นจนถึงปลายทางของความสำเร็จ
มีทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ต้องเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมและสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทั้งกระบวนการ วิธีการ
แผนการต่างๆ และในบางครั้งก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งมิตรและศัตรู
ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากหลักการหรือแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง
แต่เกิดจากการประยุกต์ใช้ทุกแนวคิดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเดินทางไปยังเป้าหมาย
ถ้าเช่นนั้นเราลองมาดูแนวคิดหนึ่งเพื่อว่าคุณจะสามารถนำไปใช้กับการผจญภัยไปยังเป้าหมายของคุณได้
แนวคิดที่ว่านั่นก็คือ
“การสะสมหรือการสั่งสม” อธิบายสั้นๆ
ได้ว่า ในทุกๆเรื่องราวของความสำเร็จ ต้องอาศัยการสะสมเรื่องนั้นๆ
จนถึงจุดสูงสุด จึงจะพบกับปลายทางแห่งความสำเร็จได้ เราลองมาดูสถานการณ์ตัวอย่างกันว่าถ้าเราใช้แนวคิดนี้จะสามารถเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้หรือไม่
หากเราต้องการจะมีร่างกายที่แข็งแรง
ตามความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เราต้องกินอาหารที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพจิตที่จะส่งผลต่อร่างกายให้แข็งแรงหรืออ่อนแอได้
เราทุกคนรู้ถึงวิธีการว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง
แต่ทำไมถึงมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากการกินอาหารเข้าไปสะสมจนเกิดโรค
เช่น มะเร็ง เป็นต้น นั่นเพราะเราขาดความต่อเนื่องในการดำเนินวิธีการที่ถูกต้อง
และถ้าถามว่าทำไมเราถึงไม่สามารถควบคุมการกินอาหารได้ เนื่องจากการที่เราสะสมการกระทำที่เป็นความชอบส่วนตนไว้อยู่เป็นนิจ(กินแต่อาหารที่ชอบอันไม่มีประโยชน์) เมื่อสั่งสมแต่เรื่องที่เราชอบมันก็เป็นการยากที่จะออกไปทำเรื่องที่ไม่ชอบซึ่่งเป็นทางที่ควรทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย(กินอาหารที่ให้ประโยชน์เพื่อสุขภาพให้แข็งแรง)
หรือให้เวลาได้คิดไตร่ตรองก่อนลงมือทำ ตัวอย่าง เช่น
ถ้าเราเป็นคนชอบดื่มเหล้า
ดื่มทุกวัน เป็นประจำ ว่างเมื่อไหร่ต้องไปดื่ม
ถามว่าจะมีซักช่วงเสี้ยววินาทีก่อนตัดสินใจซื้อเหล้าไหมว่าจะไม่ซื้อ คงจะเป็นไปได้ยากในหมู่นักดื่มเหล้า
เพราะเขาได้สะสมความรู้สึก ความสุข ความสนุก ความเพลิดเพลิน ที่ได้จากการดื่มเหล้า
คิดถึงการดื่มเหล้าทีไรจะมีแต่ความชอบไม่เคยคิดจะไม่ชอบเลย และไม่เคยหยุดคิดเลยว่าเหล้านั้นจะโทษกับตัวเอง
หรือผลเสียอื่นๆตามมา จึงกลายเป็นเรื่องยากที่จะมีสติก่อนที่จะซื้อหรือออกไปดื่ม
เพราะความเคยชินที่ทำอยู่ทุกวัน ตามคำโบราณที่ว่า “หัดยังไรก็ได้อย่างนั้น” แต่ถ้าเรามุ่งมั่นที่จะเลิก บอกตัวเองทุกวันในขณะที่นั่งดื่ม ขณะไปซื้อ
เราจะเริ่มใช้เวลามากขึ้นก่อนตัดสินใจ แม้ในขณะดื่มซึ่งส่งผลให้ดื่มน้อยลง
จนในที่สุดที่เราสามารถสะสมกำลังสติของเราอยู่เป็นประจำ นำมาซึ่งการคิดไตร่ตรองถึงเหตุผลที่เป็นประโยชน์ที่แท้จริง
มองทะลุถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและจบลงของการดื่มเหล้า มองไกลไปถึงอนาคตของครอบครัวหรือตนเอง
จึงทำให้เราสามารถหยุดยั้งการกระทำที่ไม่สมควรได้ด้วยพลังที่มากขึ้นของสติอันเนื่องมาจากการฝึกฝนเป็นประจำ
พอกล่าวถึงเรื่องนี้ ก็ขอต่อไปอีกหน่อย
คุณเคยไหมที่ใจคิดชั่ว ทั้งที่ไม่ได้อยากจะคิดอย่างนั้น
แต่มีความคิดแบบนั้นขึ้นมาในหัวของเราและเรารู้ว่าเราคิดผิดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เช่น ความรู้สึกอิจฉาเพื่อนที่ทำงานได้เงินเดือนมากกว่า
ทันทีที่เราฟังว่าเพื่อนได้เงินเท่าไหร่เราจะนำไปเปรียบเทียบ
เสร็จแล้วจึงเกิดความอิจฉาขึ้นมาทันที แต่เรารู้ว่าความรู้สึกแบบนี้มันไม่ถูกต้องทำไมเราต้องอิจฉาเพื่อนด้วย
คำถาม คือ แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น นั่นเพราะจิตใจของเรามันคอยจะลงต่ำ
ลงไปหาสิ่งที่ง่ายกว่า เร็วกว่า ตามสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ไม่ชอบไป
แต่ถ้าเราคิดว่าเราก็อยู่ในทางที่ถูกตลอด
ทำสิ่งที่ดีตลอดแล้วยังเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก ขอตอบว่า
เรายังไปไม่ถึงปลายทางของการคิดดี หากเราไม่อยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับใจของเรา
เราต้องคอยดึงจิตใจของเราขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ใช้สติอยู่ตลอดเวลาอย่าให้กระบวนการคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้นและผลักดันไปถึงการกระทำโดยที่เราไม่รู้ตัว
เมื่อความรู้สึกเกิดขึ้นเราก็ปล่อยไปทันทีไม่ยึดถือไว้ หากเราสะสมการใช้สติเพื่อคิดในทางที่สมควรอยู่เป็นนิจ
มันจะกลายเป็นการยากที่เรื่องที่ไม่สมควรจะผุดขึ้นในหัวเราได้
เราทุกคนเป็นนักสะสมอยู่แล้วอยู่ที่ว่าเราจะสั่งสมทางถูกต้องหรือทางที่ไม่ควรกระทำก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น