แม้หลายคนจะผ่านประสบการณ์การครองคู่
การมีคู่ชีวิตกันมามากแต่ต้องพบกับปัญหาต่างๆ ทั้งตั้งแต่เป็นแฟนกันจนถึงแต่งงาน
บางคู่อยู่กันได้ไม่ถึงการแต่งงาน บางคู่แต่งกันมาเป็นสิบๆปี กลับเลิกรากันไป บางคู่เป็นแฟนกันได้ไม่นานแต่มีปัญหาตามมามากมาย
จึงนำหลักการทางศาสนาที่ว่ากันตามความเป็นเหตุเป็นผลมาอธิบายในเรื่องของการร่วมชีวิตกันของคู่สามีภรรยาให้ยืนยาว แม้ผู้อ่านท่านใดจะไม่มีความเชื่อตามศาสนาพุทธ จะสามารถเข้าใจได้โดยใช้การวิเคราะห์พื้นฐานหาการเชื่อมโยงของหลักการกับความเป็นจริงได้
จึงนำหลักการทางศาสนาที่ว่ากันตามความเป็นเหตุเป็นผลมาอธิบายในเรื่องของการร่วมชีวิตกันของคู่สามีภรรยาให้ยืนยาว แม้ผู้อ่านท่านใดจะไม่มีความเชื่อตามศาสนาพุทธ จะสามารถเข้าใจได้โดยใช้การวิเคราะห์พื้นฐานหาการเชื่อมโยงของหลักการกับความเป็นจริงได้
ขอเริ่มต้นด้วยพุทธวจน
หรือคำสอนที่พระพุทธเจ้ากล่าวเกี่ยวกับเรื่องคู่บุพเพสันนิวาส
โดยไม่มีการเปลี่ยนตัวอักษรใดๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในการจดจำคำตถาคตซึ่งเป็นต้นฉบับตามหลักฐานที่เก่าที่สุด
และจะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เขียนเข้าใจ ถัดจากคำสอนต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง
พึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
ทั้งสองเทียว พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน
มีศีลเสมอกัน
มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามี
ทั้งสองนั้นย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ.
ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธารู้ความ
ประสงค์ของผู้ขอ มีความสารวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจา
ถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก
ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสอง
เป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์
เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก (จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๑/๕๖.)
คำว่าศรัทธา หมายถึง
ความมีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า ว่าท่านเป็นผู้ไกลจากกิเลศ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้วิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในธรรม เป็นผู้มีจำเริญจำแนกแจกธรรมสั่งสอนแก่มวลมนุษย์
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ
มีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ตรัสรู้จริง ธรรมที่ท่านกล่าวสอนเป็นความจริง หากมีความศรัทธาต่อตถาคตเป็นอย่างมาก
ความเชื่อที่มีอยู่มากนี้จะทำให้ไม่มีความลังเลสงสัยนำไปสู่การปฏิบัติ
ศีล สมาธิ ปัญญา ศึกษาธรรมไปโดยปริยาย แต่ถ้ามีความลังเลสงสัยอยู่แต่ไม่มากแล้วปฏิบัติ
ความลังเลสงสัยจะมีน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะได้เห็นความจริงตามหลักธรรม แต่ถ้าหากมีความลังเลสงสัยอันจะเป็นเหตุให้ไม่นำไปสู่การปฏิบัติเพราะมัวแต่จะหาคำตอบว่า
พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ แล้วธรรมที่กล่าวสอนเป็นความจริงหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนั้นหากสามีเป็นผู้ศรัทธาต่อพระตถาคต
ภรรยาไม่มีศรัทธา นั่นก็จะเป็นเหตุให้ทั้งสองคนปฏิบัติไม่เหมือนกัน ตาม 3
ข้อหลังจากนี้ และจะทำให้ไม่ได้อยู่ได้กันอย่างคู่บุพเพสันนิวาส
ศีล หมายถึง ตัวศีล 5
ที่รักษาไว้ซึ่งกาย วาจา เช่น สามีเป็นคนชอบดื่มเหล้า ภรรยาถือศีล ถามว่าจะอยู่กันได้ไหม
ตอบว่าอยู่กันได้แต่คงไม่นานเท่าไหร่
เพราะสุดท้ายต้นเหตุอันนี้จะนำมาสู่ความแตกแยกในที่สุด หรือภรรยาเป็นผู้นอกใจสามี
สุดท้ายจะเป็นเหตุให้ต้องเลิกรากันไปอยู่ดี
จาคะ หมายถึง ความเสียสละ
ความไม่ตระหนี่ การให้โดยปล่อยอยู่เป็นประจำ หากฝ่ายหนึ่งรู้จักให้ มีความเสียสละ
อีกฝ่ายขี้เหนียว ต้องมีสักวันอยู่แล้วที่จะเลาะเบาะแว้งกันด้วยเรื่องนี้เป็นเหตุ ไม่ว่าจะทำอะไรจะขัดกันตลอด
เพราะฝ่ายหนึ่งมีจิตใจแห่งผู้ให้อยู่เสมอ แบ่งปันเสมอ ฝ่ายที่ขี้หวงไม่ยอมให้อะไรกับใครง่ายๆ
จะพยายามที่จะให้อีกฝ่ายเป็นเหมือนตนเองไปด้วย เพราะหวงแม้กระทั่งของๆ อีกฝ่าย
ปัญญา หมายถึง การละความโลภ
ความคิดร้ายพยาบาท ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความหดหู่ ความลังเลสงสัย
ซึ่งถ้าในความเข้าใจของผู้เขียนนัยที่หนึ่ง เห็นว่าเป็นการเข้าใจตามธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน
นั่นคือ อริยสัจ 4 อันนำมาสู่การปฏิบัติในหนทางการดับทุกข์ตามเป้าหมายสูงสุดของศาสนา นัยที่สองตามความเห็นผู้เขียน
คือ การเข้าใจว่าอะไรควรไม่ควร อะไรถูกอะไรผิด เข้าใจต่อปัญหา
ต้นเหตุและการแก้ไขในแต่ละเรื่อง ในกรณีที่สามีภรรยามีความเข้าใจไม่ตรงกันต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดการถกเถียงเกิดความไม่ลงรอยกันได้ เมื่อคนหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยหลักธรรม เช่น
ถือศีลไม่กล่าวคำโกหกหลอกหลวงเลี้ยงชีพ อีกคนหนึ่งใช้คำโกหกหลอกลวงเลี้ยงชีพ
ถามว่าหากเป็นเช่นนี้จะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่
ตัวอย่างส่วนใหญ่จะชี้ให้เห็นถึงกรณีที่เกิดขึ้นภายในชาตินี้หรือในปัจจุบัน
แต่ในคำสอนข้างต้นจะเห็นว่ามีความหมายถึงภพหน้าด้วย (สัมปรายภพ) ถ้าเราใช้หลักนี้อธิบายจากเรื่องศีล
ในกรณีที่สามีภรรยามีศีลไม่เสมอกัน ซึ่งถ้าฝ่ายชายทุศีลจะเป็นเหตุให้ตกนรก
ส่วนถ้าฝ่ายหญิงถือศีลจะเป็นเหตุให้ไปเกิดในสวรรค์ ตัวอย่างนี้น่าจะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่า
ทำไมถึงจะไม่ได้อยู่ด้วยกันในภพต่อไป
และทำอย่างไรจะเป็นคู่บุพเพสันนิวาสที่ได้อยู่ด้วยกันตลอดไป
ส่วนผู้ที่มีความเห็นว่า ชาติหน้า
ภพหน้าไม่มีจริง ขอให้อย่าปล่อยเป็นเพียงความสงสัย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในความคิด
แล้วลองนำความสงสัยความขัดแย้งที่เห็นว่าชาติหน้าไม่มีจริง
ไปตรวจหาความจริงในพุทธวจน
เพราะได้มีการอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลไว้ให้สามารถเห็นได้ว่า
ชาติหน้าหรือภพหน้ามีจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่คำบอกกล่าวกันมาเฉยๆ
สาเหตุที่ให้นำไปตรวจดูในพุทธวจน เพราะธรรมะที่เราร่ำเรียนกันมามีส่วนที่เพิ่มเติมและตัดออกไปจากคำสอนพระตถาคตแบบเพียวๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น