อย่างที่เคยกล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า
เราใช้เวลามากมายสำหรับการคิดจดจ่อและกระทำสิ่งต่างๆ
เมื่อเรากระทำสิ่งเหล่านั้นมากๆ เข้า ทำให้เกิดการสะสมอารมณ์ที่เป็นความทุกข์
ความเป็นกังวลในสิ่งที่ทำ ต้องการให้สิ่งที่คิดที่ทำออกมาดี เป็นที่ยอมรับจากลูกค้า
นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัวหรือสังคมที่เราอยู่
แต่ละบุคคลดำเนินไปตามเส้นทางที่ตนเองถนัดหรือชื่นชอบ แต่ด้วยหลักการในการหาคำตอบที่ดีที่สุดหรือต้องการหาความถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ทำให้เราพยายามที่จะค้นหา คิด กระทำ สิ่งที่ดีที่สุดอยู่เสมอ ต้องการให้สิ่งที่ทำโดนใจผู้อื่นมากที่สุดเพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นยอมรับเรา กลายเป็นความเคยชิน อยู่ลึกเข้าไปภายในทุกขณะของการคิด เช่น เราต้องการอาหารที่อร่อยที่สุด คุ้มค่าเงินที่สุด มีประโยชน์สูงสุด ใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สะอาดที่สุด มีการคัดสรรวัตถุดิบมาเป็นพิเศษ ร้านอาหารที่ไปกินจะต้องมีบรรยากาศดีที่สุด พาชนะ การจัดวาง และ บริการดีที่สุด เป็นต้น
แต่ละบุคคลดำเนินไปตามเส้นทางที่ตนเองถนัดหรือชื่นชอบ แต่ด้วยหลักการในการหาคำตอบที่ดีที่สุดหรือต้องการหาความถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ทำให้เราพยายามที่จะค้นหา คิด กระทำ สิ่งที่ดีที่สุดอยู่เสมอ ต้องการให้สิ่งที่ทำโดนใจผู้อื่นมากที่สุดเพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นยอมรับเรา กลายเป็นความเคยชิน อยู่ลึกเข้าไปภายในทุกขณะของการคิด เช่น เราต้องการอาหารที่อร่อยที่สุด คุ้มค่าเงินที่สุด มีประโยชน์สูงสุด ใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สะอาดที่สุด มีการคัดสรรวัตถุดิบมาเป็นพิเศษ ร้านอาหารที่ไปกินจะต้องมีบรรยากาศดีที่สุด พาชนะ การจัดวาง และ บริการดีที่สุด เป็นต้น
แนวคิดในการหาคำตอบที่เชื่อว่ามีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว
นำมาซึ่งความไม่อยากที่จะยอมรับความล้มเหลว อยู่ในการคิด ไตร่ตรอง วิเคราะห์
วางแผน กระทำ ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ
ลากยาวไปถึงความเชื่อมโยงของแต่ละกระบวนที่มีความซับซ้อน
เพื่อให้ได้สิ่งที่สุดยอดที่สุด เมื่อระบบแนวคิดนี้อยู่ในทุกภาคส่วนของการคิด
การกระทำ เราจึงอยู่กับความเครียดมากกว่าการผ่อนคลาย
เวลาส่วนใหญ่เราจะพยายามไม่ให้เกิดความผิดพลาด จึงเกิดการเปรียบเทียบ
เพื่อคอยควบคุมวัดผลอยู่ตลอดเวลาต่อสิ่งที่กระทำ ให้อยู่ในทิศทางแห่งความสำเร็จ
เราจะกลายเป็นบุคคลที่อมทุกข์อย่างฝังแน่น
ไม่มีโอกาสในการหลีกหนีความเครียดอันเกิดจากสิ่งที่ทำอยู่ได้
ลองคิดดูว่าในหนึ่งวันในแต่ละวินาทีเราอยู่กับความคาดหวังที่จะประสบแต่สิ่งที่ดีที่สุดเป็นเวลาเท่าใด
เมื่อภาวะนี้เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ วันละหลายๆชั่วโมง เป็นเดือน เป็นปี
จึงมีอาการที่เป็นผลกระทบของจิตที่มีแต่ความหมกมุ่น ส่งต่อไปยังร่างกาย
แสดงออกมาเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ถึงแม้ว่าเราจะมีวันพักผ่อน มีสถานที่ผ่อนคลายความทุกข์
เราได้อยู่กับครอบครัว ทำกิจกรรมบันเทิง รับสิ่งบันเทิง
ทำให้จิตอยู่ในสภาวะที่ไม่ต้องแบกรับความคาดหวัง
แต่สิ่งที่ทำก็เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เราได้สะสมความเครียด ความกังวล เราให้เวลากับสิ่งที่ทำมากกว่าเวลาพักผ่อน
การผ่อนคลายในวันพักผ่อน
การไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ เพื่อรับบรรยากาศที่ดี รับสิ่งสวยงาม จิตเราอยู่ในสภาวะของการรับอารมณ์ความสุขที่เกิดจากการรับรู้ของประสาทสัมผัส
เราจึงชื่นชอบการท่องเที่ยว การพักผ่อน การรับสิ่งบันเทิงต่างๆ มากกว่าการทำงาน
เพราะขณะทำงานจิตอยู่ในสภาวะของความกังวลอยู่ตลอด
หลายคนจึงคิดว่าเวลาที่จะให้จิตได้พักผ่อน ให้กายได้สุขสบาย ไร้ซึ่งความทุกข์ใดๆ
จะพยายามสรรหาสถานที่ท่องเที่ยวดีๆ อาหารที่สุดแสนอร่อย
อยู่ในวิถีชีวิตที่ไม่เร่งรีบ ไม่มีสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน การแก่งแย่งใดๆ ทั้งมีคนใกล้ตัวที่คอยมาเอาใจ
คอยตามใจ แต่ในบางครั้งแม้ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ก็ยังเกิดความเครียดได้
เพราะได้รับสิ่งที่ไม่ชอบ ขัดใจ เช่น การทะเลาะเบาะแว้งกันของผู้คนที่ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการที่พักกับลูกค้า
ผู้คนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มเดียวกัน
สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เรารู้สึกเสียบรรยากาศในการท่องเที่ยว เป็นต้น
นั่นเพราะเราคาดหวังว่าจะเจอแต่สิ่งที่ดีๆหรือสิ่งดีที่สุด
คาดหวังว่าจะได้รับบรรยากาศการผ่อนคลายที่จะทำให้สุขที่สุดจากวันพักผ่อนจากการทำงานที่หน้าปวดหัว
หลักพื้นฐานของการหาคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียวยังคงอยู่
ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมใดเราก็ยังรู้สึกถึงความทุกข์ได้แม้ในขณะท่องเที่ยว
เมื่อคิดมุ่งแต่ความสุขแม้ในขณะเวลาพักผ่อนเราก็คาดหวังจะรับแต่ความสุขสบาย
ทำงานก็หวังว่าจะได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เราทำ
เราอยู่สภาวะอารมณ์เคร่งเครียดมากกว่าอารมณ์ผ่อนคลาย เรามีอารมณ์ของความกังวลที่จะไม่อยากรับความทุกข์
“ยิ่งเราอยากได้ความสุขมากเท่าไหร่เราก็จะได้รับความทุกข์มากเท่านั้น”
เพราะเป็นสิ่งที่คู่กันตามกฎธรรมชาติ ตามสัจธรรม มีสะอาดก็มีสกปรก
มีความสวยงามย่อมมีความน่าเกลียด
หากเราไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นความไม่ต้องการทุกข์หรืออยากจะรับแต่ความสุข
เราไม่อาจหลีกหนีสิ่งตรงข้ามได้ ซึ่งทางออกมีเหลือหนทางเดียวที่จะทำได้ คือ ถอนออกจากคาดความหวังในสิ่งเหล่านั้น
แล้วจิตของเราจะอยู่ในสภาวะของการพักผ่อนตลอดเวลา
ในความเป็นจริงแล้วจิตของเราจะสามารถผ่อนคลายได้ทุกขณะ
ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทใดก็ตาม ในสภาวะของการแข่งขัน ความเคร่งเครียด การเอาชนะ
การเอารัดเอาเปรียบ การถูกบีบคั้นจากผู้มีอำนาจที่สูงกว่า
หรือแม้ในขณะที่ตัวของเราอยู่ในที่ๆไม่สามารถขยับได้เขยื้อนไปไหนได้
ซึ่งทำได้ง่ายๆเพียงเราไม่เกาะติดในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ในสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะทำให้เราไม่ชอบมากเพียงใด หรือทำให้เราปิติสุขจากการได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ทำมากเพียงใด
อ้างอิง
อภิชัย พันธเสน 2554, พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎี
และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น