มนุษย์เราเมื่อเจอกับปัญหาโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มแก้ไขด้วยความคิดเห็น
การไตร่ตรองของตัวเองก่อน หากเกิดความไม่แน่ใจ
ลังเลสงสัย ในปัญหา จึงจะถามความคิดเห็นต่อประเด็นที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น
เป็นการหาน้ำหนักมาถ่วงความเห็นที่น่าจะเป็นทางแก้ไขปัญหา ซึ่งแล้วแต่ลักษณะนิสัยของคน ว่าครั้งได้รับความคิดเห็นของผู้อื่นแล้วจะทำอย่างไร
เรื่องของการให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษาเป็นเรื่องทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
เพื่อให้ปัญหาเหล่านั้นลดน้อยลง เราลองมาดูแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
ในกรณีที่เราอยู่ในฐานะของผู้ให้คำปรึกษา
ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของการที่มีคนเข้ามาขอคำปรึกษา หรือ
เราอยากจะช่วยเหลือหาทางออกให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น
พี่น้อง,เพื่อนสนิท เป็นต้น เพราะเราเห็นปัญหาทางเลือกที่ชัดเจนกว่า
การให้คำปรึกษา คำแนะนำที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา คือ “การไม่ใส่ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น และการไม่โน้มน้าวให้ทางเลือกใดทางหนึ่งให้มีน้ำหนักมากกว่า รวมไปถึงไม่ตัดสินใจแทนคนอื่น” ด้วยประโยคขึ้นต้นที่ว่า
การให้คำปรึกษา คำแนะนำที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา คือ “การไม่ใส่ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น และการไม่โน้มน้าวให้ทางเลือกใดทางหนึ่งให้มีน้ำหนักมากกว่า รวมไปถึงไม่ตัดสินใจแทนคนอื่น” ด้วยประโยคขึ้นต้นที่ว่า
“ถ้าเป็นฉัน ฉันจะทำ....”
เราลองมาดูตัวอย่างกันซักหน่อย
ถ้าเรามีเพื่อนที่ถูกแฟนนอกใจ
ร้องห่มร้องไห้มาขอคำปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดีกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ในใจเรารู้อยู่แล้วหละว่า การนอกใจเป็นสิ่งที่ผิด
เป็นเรื่องพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของคู่ชีวิต
หากใครทำเรื่องนี้ไม่ได้ก็เลิกๆมันไปซะ ความเห็นแบบนี้มันมีอารมณ์ร่วมอยู่ ถ้าเราแนะนำให้เลิกกันไปแม้จะเป็นทางออกที่ถูกต้อง แต่ผลลัพธ์ของทางเลือกอื่น เช่น การยกโทษและลองให้โอกาสกลับตัวกลับใจ อาจเป็นทางออกที่ดีสำหรับเพื่อนของเรากับแฟนผู้นอกใจคนนั้น หากทำเช่นนี้แล้วแฟนผู้นอกใจรู้สึกผิด เห็นความผิดที่ทำลงไป เข้าใจว่าตัวเองหลงไปชั่วขณะ
แล้วไม่ทำอีกเลยตลอดชั่วชีวิตของเขา คนทั้งสองอาจจะอยู่ด้วยจนแก่เฒ่า อย่างหนึ่งที่เราควรเตือนตัวเองขณะให้คำแนะนำ
คือ เราไม่รู้หรอกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
แม้เราจะเห็นว่ามีทางออกที่ดีที่สุด แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าผลลัพธ์ของทางออกสำหรับบุคคลนั้นจะออกมาดีแค่ไหน
มีผลต่อสภาพจิตใจอย่างไร คนบางคนรับความเป็นจริงไม่ได้ก็มี เราอาจจะเห็นว่าทางออกนั้นถูกต้อง
แต่มันอาจจะไม่เหมาะสมกับเจ้าของปัญหา ดังนั้น จึง “มีความจำเป็นอย่างมากที่จำต้องให้เจ้าของปัญหาตัดสินใจด้วยตัวเอง” และยังเป็นการป้องกันสำหรับคนที่ชอบโทษผู้อื่นอีกด้วย
เพราะเราไม่รู้หรอกว่าลึกๆแล้วใครจะมีลักษณะนิสัยอย่างไร เช่น แม้เราจะคอยให้ความคิดเห็นหาทางแก้ไขให้
เมื่อผลลัพธ์ออกมาไม่มีดี คนที่เราให้คำปรึกษากลับมาโทษว่าเป็นความผิดเราที่ให้คำแนะนำไป
เป็นต้น
ในกรณีที่เราต้องการคำปรึกษาเพราะไม่สามารถหาความแน่นอนของทางออกที่น่าจะเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดด้วยตัวเองได้
เหมือนกับการเล่นหมากรุก เมื่อเรายืนอยู่นอกกระดาน เราจะมองเห็นหนทางในการชนะที่ชัดเจน
แล้วเราอาจจะสงสัยว่าทำไมคนที่กำลังเล่นอยู่มองไม่เห็นนะ นั่นเพราะผู้ที่อยู่นอกเกมไม่ได้รับแรงกดดัน
ความคาดหวังจะชนะ ความกลัวที่จะแพ้ จึงมีความสบายผ่อนคลาย สงบ
เห็นวิธีทางการแก้ที่จะทำให้สามารถขจัดปัญหาได้เด็ดขาดและชัดเจน
แล้วจะรู้ได้อย่างไรหละว่าใครเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี
?? ให้เราลองใช้หลักเดียวกันกับในฐานะที่เราเป็นผู้ให้คำปรึกษา
คือ รับฟังคนที่แสดงความเห็นเป็นกลาง ไม่ใส่อารมณ์ร่วมในการแก้ปัญหา
แยกแยะประเด็นผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกออกมาได้อย่างชัดเจนว่า
เมื่อทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะเป็นอย่างไรในอนาคต
รวมไปถึงเปิดโอกาสให้เราตัดสินใจเลือกด้วยตัวเราเอง
การให้คำปรึกษาเราสามารถช่วยเหลือได้เป็นบางคน เราไม่อาจให้ความช่วยเหลือสำหรับทุกคนได้
เนื่องจากมีบางคนที่ให้ผู้อื่นช่วยจนเป็นนิสัย ไม่เคยแก้ปัญหาตัดสินใจด้วยตัวเอง
รบเร้าเผารนให้คนอื่นมาคอยช่วยเหลือ เรียกร้องต่างๆนานา
มากเสียใจคนที่ถูกขอร้องให้ช่วยเกิดความรำคาญจึงจำใจช่วยเหลือไป
แล้วก็กลายเป็นการให้ท้ายสำหรับคนที่ไม่เคยช่วยเหลือตัวเอง
หรือในกรณีคนที่ไม่ช่วยเหลือตัวเองในลักษณะนี้ไปเจอกับผู้คนที่ไม่รู้จักให้คำปรึกษา
ใส่ความเห็น ความรู้สึกชอบไม่ชอบ ในปัญหาที่เกิดขึ้น และตัดสินใจแทน
แนะนำด้วยการขึ้นต้นประโยคที่ว่า “ถ้าเป็นฉัน
ฉันจะทำแบบนี้.... บราบราๆ” จะยิ่งทำให้คนที่ไม่ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง ไม่คิดที่จะช่วยเหลือตัวเองต่อไปตราบนานเท่านาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น